Sunday, November 16, 2008

Burning monk - the self-immolation


"Burning monk - the self-immolation"
Malcolm Browne , 1963

ในวันที่ 11 มิถุนายน 1963 พระภิกษุชาวเวียดนามชื่อ Thich Quang Duc จุดไฟเผาตัวเอง ณ ถนนสี่แยกในไซง่อน เพื่อเป็นการต่อต้านการออกกฎหมายรังแกศาสนาพุทธ ในสมัยของรัฐบาล โง ดิน เดียม ผู้ต้องการให้ชาวเวียดนามทุกคนมานับถือศาสนาคริสต์ตามที่ตนนับถือ

พระ Thich Quang Duc เทน้ำมันลงที่ตัวของท่าน และจุดไฟด้วยไม้ขีดด้วยกริยาที่มีสติรอบคอบ ขณะที่ไฟลุกไหม้นั้น ท่านก็ยังคงนั่งด้วยจิตใจแน่วแน่ ไม่ไหวติง ไม่แสดงอาการทุกข์เวทนาในสังขารแต่อย่างใดเลย เปลวไฟอันร้อนระอุได้เผาจีวรและผิวหนังไหม้เกรียมอยู่ประมาณ ๑๐ นาที ร่างของท่านที่นั่งขัดสมาธิอยู่นั้นก็หงายหลังอย่างเงียบสงบ....

หลังจากท่านมรณภาพแล้ว สานุศิษย์ได้นำสังขารของท่านไปประกอบพิธีฌาปนกิจ ปรากฏว่าหัวใจของท่านไม่ไหม้ไฟ และกลับแข็งประหนึ่งหิน ชาวเวียดนามจึงสร้างสถูปบรรจุไว้ และนับถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง

His body was consumed, and all that remained was his heart.

Saturday, November 15, 2008

Stricken child crawling towards a food camp

Stricken child crawling towards a food camp

"Stricken child crawling towards a food camp"
Kevin Carter , 1994

ภาพนี้ถ่ายจากประเทศซูดาน ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1993 ในหนังสือพิมพ์ THE NEW YORK TIMES ฉบับวันที่ 26 มีนาคม 1993 ภาพของอีแร้งยืนคอยเด็กกำลังจะตายเป็นภาพเด็กหญิงที่กำลังอ่อนแรงจวนถึงแก่ ความตายขณะเดินทางไปที่หน่วยอาหารในแคมป์ของสหประชาชาติซิ่งอยู่ไกลออกไป 1 กม. ถ่าย โดย Kevin Carterที่ผ่านมาเจอเหตุการ์ณนี้จึงบันทึกภาพไว้หลังการถ่ายภาพเส็จสิ้นเขา ไล่นกแร้งดังกล่าวแล้วเดินจากไป
ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของเด็กหญิงคนนี้
อารมณ์สุดสะเทือนใจที่ปรากฎทำให้เขา ได้รับรางวัลสุดยอดภาพถ่ายแห่ง ปี Pulitzer 1994.
ท่ามกลางเสียงชื่นชมและคำตัดพ้อต่อว่าต่างๆนาๆที่ออกมาถามถึง
" จรรยยาบรรณ " ความเป็นช่างภาพว่า
" ทำไมจึงไม่เข้าช่วยเหลือเด็กหญิงคนนั้น "

2 เดือนต่อมา เขาก็ฆ่าตัวตาย....

Kevin Carter (1961-1994) เป็นนักถ่ายภาพสารคดี ชาวแอฟริกาใต้

เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ของอาชีพถ่ายภาพในการเก็บภาพสถานการณ์ไม่สงบ ในแอฟริกาใต้ ในช่วงสุดท้ายของสงครามกลางเมือง เขาได้รับรางวัลพูลิเซอร์ในปี 1994 อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้รับแค่เพียงคำชื่นชมเท่านั้น แต่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงที่เพียงแต่ถ่ายรูป โดยไม่ได้ช่วยเด็กหญิงคนนั้น

คำวิจารณ์นี้ รวมถึงการเสียชีวิตของเพื่อนสนิท ทำให้เควินตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง ในวัย 33 ปี ในบันทึกการตายเขาเขียนไว้ว่า

" ผมถูกหลอกหลอนด้วยความทรงจำบาดลึกของการฆ่าฟัน ศพ ความโกรธ ความเจ็บปวด... ของเด็กที่อดอยากและบาดเจ็บ, ของคนบ้าที่กระหายการลั่นไกปืน... ความเจ็บปวดของชีวิตมันกลืนกินความสุข จนถึงจุดที่เรียกว่าความสุขนั้นไม่มีอยู่"

("I am haunted by the vivid memories of killings & corpses & anger & pain... of starving or wounded children, of trigger-happy madmen... The pain of life overrides the joy to the point that joy does not exist.")

Napalm Girl



"Napalm Girl"
Huynh Cong Ut , 1972

Huynh Cong Ut หรือ Nick Ut ช่างภาพแนว Photojournalism จาก AP
บันทึกภาพการทิ้งระเบิดนาปาล์ม ลงหมู่บ้าน Trang Bang โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศเวียดนาม
ในวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่าจะมีกองกำลังเวียดกง ซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน

Kim Phuc อายุ 9 ขวบ วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนน ในสภาพไม่มีทั้งเสื้อผ้า และเสียขวัญสุดขีด
มาพร้อมกับพี่ชายอายุ 12 ปี ทางซ้ายสุดของภาพ น้องชายอายุห้าขวบที่วิ่งไป พร้อมกันเหลียวมองไปที่หมู่บ้าน
และลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนที่จูงมือกันวิ่งมาด้วย


" ...บรรณาธิการ AP ไม่ยอมให้ตีพิมพ์รูปของ Kim Phuc ที่กำลังวิ่งไปบนถนน โดยไม่ใส่เสื้อผ้า
เพราะเป็นภาพที่เห็นด้านหน้าชัดเจน และนโยบายของ AP ในยุคนั้นจะไม่ตีพิมพ์ภาพเปลือย ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และเพศใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพด้านหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น
...การโต้เถียงผ่าน Telex อย่างดุเดือดกับสำนักงานใหญ่ของ AP ที่นิวยอร์ค ให้ยกเว้นกฎระเบียบ
โดยมีข้อตกลงกันว่า จะต้องไม่มีภาพถ่ายใกล้ ของเธอ เผยแพร่ออกไป
Hal Buell บรรณาธิการภาพของ The New York ที่จะนำภาพไปตีพิมพ์ เห็นด้วยว่า
คุณค่าของภาพข่าวนี้ มีเหนือกว่า แนวทางปฏิบัติใดๆ เกี่ยวกับภาพเปลือย"


ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีนั้น

Gandhi at his Spinning Wheel



"Gandhi at his Spinning Wheel"
Margaret Burke-White, 1946

ภาพถ่ายแนว Portrait แห่งศตวรรษที่ 20 อีกภาพหนึ่ง ที่จัดได้ว่าเป็นภาพเปลี่ยนโลก
ภาพนี้มีสิ่งสำคัญ ถึงสองสิ่งอยู่ในภาพเดียวกัน สิ่งหนึ่งคือ มหาตมะคานธี ผู้นำการต่อสู้แนวอหิงสา
และอีกสิ่งหนึ่งคือ กงล้อปั่นฝ้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย

ภาพนี้ กลายเป็นภาพที่ใช้เพื่อการรณรงค์ต่อสู้เพื่อเอกราช และเป็นภาพในชุดท้ายๆ ในช่วงชีวิตของคานธี
หลังจากถ่ายภาพนี้ไม่ถึง 2 ปี มหาตมะคานธี ก็ถูกลอบสังหาร

แต่กว่าจะได้ภาพนี้มา ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

ไม่นับว่าช่วงนั้น คานธีอยู่ในช่วงถือศีล เข้าเงียบ ไม่สามารถพูดกับใครได้
ในการถ่ายภาพ มากาเร็ต เตรียมหลอดแฟลชไปเพียง 3 หลอด เพราะไม่ได้คาดคิดว่า จะเจอกับสภาพแสงแบบนี้
แและแฟลชที่เตรียมไป 3 หลอด กลับเสีย ไปหลอดหนึ่ง เพราะอากาศที่ร้อน และชื้นจัด ของอินเดีย

แฟลชที่เหลืออีก 2 หลอด เท่ากับว่า มีโอกาสถ่ายรูปได้เพียง 2 รูปเท่านั้น
รูปแรกที่ถ่าย เธอลืมเปิดแผ่นกั้นแสงที่ฟิล์ม ทำให้ไม่ได้ภาพ
...นี่คือรูปที่สอง

Hindenburg



"Hindenburg"
Murray Becker, 1937

เป็นที่น่าเสียดายว่า หายนะยิ่งใหญ่อย่างไททานิค หรือเชอร์โนบิลล์ ไม่ได้มีการบันทึกภาพเอาไว้
ทำให้บางทีเราก็ลืมเลือนความร้ายแรงของมันไปบ้าง

แต่ การระเบิดของเรือเหาะ ฮินเดนเบิร์ก ในวันที่ 6 พฤษภาคม 1937 ที่ Lakehurst รัฐ นิวเจอร์ซี่
ถูกบันทึกไว้ทั้งภาพยนต์ และภาพนิ่ง และบทความ ด้วยฝีมือของช่างภาพ และนักข่าวเกือบสองโหล
และกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งหายนะ ของยุคศตวรรษที่ 20

ไม่ใช่แค่เพียงสัญญลักษณ์เท่านั้น เหตุการณ์ฮินเดนเบิร์กยังส่งผลกระทบยิ่งกว่านั้น
แม้จะมีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 35 คน เท่านั้น จากผู้โดยสารทั้งหมด 97 คน
ไม่สามารถจัดว่าเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงแห่งศตวรรษได้เลย ไม่ว่าในมาตฐานใดๆ
ถ้าจะเทียบกับอุบัติเหตุของเรือเหาะ Zeppelin ที่ตกในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อสี่ปีก่อน
เหตุการณ์นั้นก็ยังมีผู้เสียชีวิตมากกว่าฮินเดนเบิร์กตั้งสองเท่า

อันที่จริงจะบอกว่า ฮินเดนเบิร์กระเบิด ก็ยังเป็นคำกล่าวที่เกินจริงไปเสียด้วยซ้ำ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไฟไหม้ ที่สารเคลือบผ้าใบของเรือเหาะ จนทำให้เรือเหาะตกลงพื้นเท่านั้น

แต่ภาพน่ากลัวของฮินเดนเบิร์ก กลับทำให้ความกลัวเรือเหาะ แพร่สะพัดไปทั่วโลก
จนกระทั่งยุคทองของการเดินทางด้วยเรือเหาะ กลับสิ้นสุดลงอย่างกระทันหันในปีนั้นเอง

Loch Ness Monster



"Loch Ness Monster" หรือ "The Surgeon's Photo"
Ian Wetherell, 1934

ในยุคที่ผู้คนทั่วโลก ต่างตื่นเต้นกับสัตว์ประหลาดเนสซี แห่งทะเลสาปล็อคเนส (ซึ่งอย่างน้อยก็มีรายงานครั้งแรกในปี ค.ศ. 565)
และผู้คนต่างแห่แหนกันไปเพื่อหาหลักฐาน และบันทึกภาพสัตว์ประหลาด ก็มีภาพที่เป็นตำนานเกิดขึ้น

"The Surgeon's Photo"
ภาพนี้บันทึกไว้เมื่อเดือนเมษายน 1934 และเหมือนกับเป็นการสาดน้ำมันเข้ากองไฟ ในเหตุการณ์ "ตื่นสัตว์ประหลาด"
เกิดการถกเถียง โตเถียง ทะเลาะ (และอาจถึงขั้นตบตี) และทำให้เกิดการค้นหาหลักฐานสัตว์ประหลาดล็อคเนส อย่างบ้าคลั่ง
นักท่องเที่ยว และนักค้นคว้าที่เดินทางมา ทำรายได้ให้กับพื้นที่นับล้านๆ ดอลล่าร์ต่อปี

The Party is over - งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา.....
ในปี 1994 ความจริงก็ถูกเปิดเผย Christian Spurling นักทำหุ่นจำลอง ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ที่รับผิด ในการทำภาพปลอมนี้
ด้วยคำแนะนำและช่วยเหลือของ Marmaduke Wetherell ผู้เป็นพ่อเลี้ยง และนักล่าสัตว์ในละแวกนั้น
พ่อเลี้ยงของเขาได้รับการว่าจ้างจากหนังสือพิมพ์ London's Daily Mail เพื่อให้หาหลักฐานเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดแห่งล็อคเนส
แต่หลังจากใช้ความพยายาม โดยไม่มีหลักฐานอะไรเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดเลย เขาจึงตัดสินใจให้ลูกเลี้ยง ทำหุ่นจำลองขึ้น
โดยใช้เรือดำน้ำของเล่น และให้ลูกชายของเขา Ian Wetherell เป็นผู้บันทึกภาพ
หลังจากบันทึกภาพแล้ว ก็ให้นายแพทย์ Robert Kenneth Wilson ศัลยแพทย์ และผู้ใหญ่บ้าน (เมืองไทยก็คงประมาณนี้)
เป็นผู้รับสมอ้าง ว่าเป็นผู้ถ่ายภาพนี้

"กล้องไม่เคยโกหก, คนเท่านั้น ที่โกหก"
ไม่มีอะไรจะยืนยันคำกล่าวเก่าแก่โบราณของวงการถ่ายภาพได้ดีไปกว่านี้อีกแล้ว

The Tetons - Snake River



"The Tetons - Snake River"
Ansel Adams, 1942

บางคนบอกไว้ว่า ยุคแห่งการถ่ายภาพมี 2 ยุค คือ ยุคก่อน Ansel Adams และ ยุคหลัง Ansel Adams
คำพูดนี้ คงสะท้อนได้ดี ในเรื่องของความยิ่งใหญ่ของ Ansel Adams ที่มีต่อวงการถ่ายภาพ

ในยุคก่อนนั้น การถ่ายภาพ ไม่ได้มีศักดิ์ศรี ในการเป็นงานศิลปะเลย แม้แต่น้อย
ช่างถ่ายภาพทุกคน ต่างก็พยายามใช้กล้อง แทนพู่กันในการสร้างภาพ เพื่อเลียนแบบภาพเขียนเท่านั้น

แต่แอนเซล อาดัมส์ เป็นผู้ที่ผลักดัน การถ่ายภาพ ให้กลายเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่ง

และภาพของแอนเซล อดัมส์ ที่ถ่ายทิวทัศน์ ของอเมริกา โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติ เยลโลว์สโตน
ส่งผลต่อความตระหนักต่อชาวอเมริกัน และชาวโลก ที่จะช่วยกันดูแลรักษา ปกป้อง ธรรมชาติอันสวยงามนี้ไว้ต่อไป